เสนอราคา

    ชื่อ*

    อีเมล*

    หมายเลขโทรศัพท์*

    เว็บไซต์บริษัท

    เลือกบริการ

    จำนวนพนักงาน

    เพิ่มโอกาสในการขายได้ง่าย ๆ เพียงสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง

    By

    การสร้างเว็บไซต์ของตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฎิเสธได้อีกต่อไปว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่คิดทำธุรกิจและแข่งขันให้ได้อย่างยั่งยืนในยุคปัจจุบัน ในช่วงสองปีที่ผ่านมา วิกฤตโควิดทำให้หน้าร้านค้าต่าง ๆ ต้องทยอยปิดตัวลงไปเพราะคนไม่ออกจากบ้าน ผู้ประกอบการหลายรายต้องจมทุนกับการแบกรับภาระค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน แต่รายได้หดหายไปกว่าครึ่ง เหตุการณ์นี้ยิ่งเป็นการเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนผ่านช่องทางการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจค้าขายหรือบริการ ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากโลกออฟไลน์ มาเป็นโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นหากในปัจจุบันคุณไม่มีเว็บไซต์ที่ได้มาตรฐาน หน้าตาสวยงามใช้งานง่ายและสามารถสร้างรายได้ให้คุณได้จริง ธุรกิจของคุณก็เสียโอกาสอย่างยิ่งในการแข่งขันที่มีแต่จะเข้มข้นขึ้นในปัจจุบัน

    จากรายงาน Digital Stat 2022 พบว่าคนไทยซื้อของออนไลน์บ่อยเป็นอันดับที่ 1 ของโลก คนไทยอย่างเราซื้อของกินของใช้ผ่านทางออนไลน์มากที่สุดในโลกและใช้เงินเฉลี่ยในการซื้อของออนไลน์มากถึง 17,000 บาท/คน/ปี ทำให้พ่อค้า แม่ค้า และเจ้าของธุรกิจหลาย ๆ เริ่มมองหาโอกาสและช่องทางในการเพิ่มยอดขายผ่านทางออนไลน์ เช่น การใช้โซเซียลมีเดียต่าง ๆ หรือการนำสินค้าของตัวเองไปขายผ่านแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Shopee Lazada ฯลฯ แต่อาจจะลืมนึกถึงการสร้างเว็บไซต์ของแบรนด์เองซึ่งไม่ต้องเสียค่า GP แพง ๆ และไม่ต้องลงทุนมหาศาลในการดัน Traffic ช่วง double date เพื่อให้ได้อยู่ในลิสต์ flash sale บนแพลตฟอร์มเจ้าดัง ดังนั้นเว็บไซต์ที่คุณจัดการเองได้ทั้งหมดจะเป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตและมีรายได้มากขึ้นในระยะยาว 

    ทำไมธุรกิจควรสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง?

    ในยุคที่ทุกคนเสพสื่อ ค้นคว้าข้อมูล จับจ่ายใช้สอยผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นเวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวัน การมีเว็บไซต์ที่ดี มีช่องทางออนไลน์ที่ครบถ้วน ข้อมูลถูกต้องเป็นระเบียบ มีการจัดการอย่างมืออาชีพก็คือการมีหน้าร้านที่น่าเชื่อถือ จับต้องได้ในยุคนี้ หลายครั้งการมีตัวตนบนโลกออนไลน์ที่แข็งแกร่งนั้นมีค่ามากกว่าการมีหน้าร้านในโลกจริง ดังที่คุณอาจจะเห็นกันดีอยู่แล้วจากความสำเร็จของหลายแบรนด์ที่ไม่มีแม้แต่หน้าร้าน

    เรามาดูกันว่าเหตุผลหลัก ๆ ที่ธุรกิจต้องการสร้างเว็บไซต์ของตัวเองนั้นมีอะไรกันบ้าง

    1. อยากเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าและแบรนด์

    การสร้างเว็บไซต์ที่เป็นชื่อธุรกิจของตัวเองจะทำให้แบรนด์ดูมีความเป็นมืออาชีพและดูน่าเชื่อถือในยุคปัจจุบัน หากคุณไม่มีเว็บไซต์แม้จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ก็จะถูกมองว่าล้าหลังหรือเข้าถึงได้ยาก ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการหาข้อมูลของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทุกคนรู้ว่าการทำเว็บไซต์ขึ้นมาอย่างจริงจังนั้นเปรียบได้กับการลงทุนสร้างหน้าร้านอย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนมาเป็นอย่างดีและมีระบบ มีผู้ดูแลร้านออนไลน์เช่นกัน หากเว็บไซต์ของคุณดูดีเป็นหน้าเป็นตาให้บริษัท มีข้อมูลครบถ้วน มีฟังก์ชันใช้งานง่ายติดต่อสะดวก ลูกค้าสมัยนี้ก็ใช้เว็บไซต์เป็นสื่อกลางในการเข้าถึงสินค้าและบริการที่คุณมีนั่นเอง

    2. อยากลดค่าธรรมเนียม (Commission) บนแพลตฟอร์ม E-Commerce

    การมีหน้าร้านออนไลน์ของตัวเองทำให้ลดการพึ่งพาแพลตฟอร์มอย่าง Shopee หรือ Lazada ไปได้ นั่นหมายถึงเราไม่ต้องถูกหักค่าธรรมเนียมจำนวนมหาศาลมากถึง 15-30% จากยอดขายที่เราทำได้ ซึ่งในอนาคต ค่าธรรมเนียมนี้อาจจะมีการเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจุบันก็เป็นได้เพราะว่าแบรนด์ของเราไม่ใช่เจ้าของแฟลตฟอร์ม และเราจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ตามข้อกำหนดต่าง ๆ ที่อาจไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจเราก็เป็นได้

    หากเรายังพึ่งพาแพลตฟอร์มเหล่านี้เพียงอย่างเดียวเป็น 100% ของรายได้ธุรกิจ เราจะไม่มีทางเลือกนอกเสียจากต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นหากเจ้าของธุรกิจตระหนักในข้อนี้ก็มักจะสร้างเว็บไซต์ของตัวเองเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เราค่อย ๆ สะสมฐานลูกค้าทีละนิด พัฒนาไปเรื่อย ๆ โดยที่เราจ่ายเพียงค่าธรรมเนียมชื่อเว็บปีละหลักร้อยหลักพันเพียงเท่านั้น หลายแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการทำเช่นนี้ก็สามารถลดค่าคอมมิชชันลงและเพิ่มกำไรมากขึ้น บางเจ้าถึงกับไม่ร่วมงานกับมาร์เกตเพลสชื่อดังไปเลยเพราะว่าเพียงแค่สร้างเว็บไซต์ตัวเองและโปรโมทผ่าน social media หรือ Google ads ก็ได้ลูกค้าเพียงพอแล้วก็มี 

    Online Shopping
    Building a website by your own design

    3. สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ

    การสร้างเว็บไซต์ของตัวเองทำให้สามารถออกแบบได้อย่างอิสระ จัดแต่งตามสไตล์ของแบรนด์ได้อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะแบรนด์ที่ต้องการฟังก์ชันเฉพาะไม่ว่าจะเป็นโรงแรมที่ต้องการ walk-through แบบ 3 มิติในทุกห้อง แพลตฟอร์มตัดเสื้อออนไลน์ที่มีฟังก์ชันวัดขนาดตัว เลือกเนื้อผ้า และจำลองภาพเสื้อที่ตัดเสร็จให้เห็นเป็น 3 มิติ ฯลฯ ฟังก์ชันพิเศษเหล่านี้อาจไม่มีในแพลตฟอร์มมาร์เกตเพลสทั่วไป แต่อาจเป็นจุดขายเฉพาะที่คุณมีเพียงคนเดียวและจำเป็นต่อธุรกิจ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจหลายท่านจึงเนรมิตเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุดขึ้นมาใช้ 

    4. เก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้าได้

    เมื่อมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เจ้าของธุรกิจสามารถติดตั้งเครื่องมือฟรีที่ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าที่ใช้งานเว็บไซต์ แล้วนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงเลือกทำโฆษณาไปยังกลุ่มลูกค้าของตัวเองได้ เรียกได้ว่าหากไม่มีเว็บไซต์แล้ว คุณก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกค้าที่ให้ความสนใจสินค้าและบริการของคุณนั้นมีอายุเท่าไหร่ เพศอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร มีแนวโน้มชอบสินค้าใดมากกว่ากัน ฯลฯ แต่หากคุณมีเว็บไซต์และติดตั้งเครื่องมืออย่าง Google Analytics ฯลฯ คุณก็จะตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน รวมถึงทราบอีกด้วยว่าการทำโฆษณาในช่องทางไหนให้ผลกำไรดีที่สุด เรียกได้ว่าหากคุณไม่มีเว็บไซต์ก็เหมือนมีหน้าร้านขายของแต่ไม่เคยได้เห็นหน้าลูกค้าสักคน

    Website Data Analysis
    Website Product Review

    5. สร้างเว็บไซต์ให้เป็นที่รวบรวมข้อมูล รีวิวต่าง ๆ ของสินค้า

    การสร้างเว็บไซต์สามารถกลายเป็น portfolio ออนไลน์ของธุรกิจได้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างเน้น b2b อย่างโรงงานก็ตาม การแสดงข้อมูลสินค้าและบริการอย่างครบถ้วนและถูกต้อง มีโปรโมชันล่าสุดให้ลูกค้าติดตาม รวมทั้งการรีวิวสินค้า ความคิดเห็นจากลูกค้าต่อสินค้าต่าง ๆ ได้ จะยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นไปอีก เหลือเพียงแค่รอให้เวลาผ่านไปและได้จำนวนรีวิวต่าง ๆ มากเพียงพอ ธุรกิจคุณก็จะมีความน่าเชื่อถือที่ยากจะสั่นคลอน ทำให้ลูกค้าใหม่ตัดสินใจใช้บริการได้ง่ายยิ่งขึ้น

    ถ้าเหตุผลด้านบนนี้ตรงกับความต้องการของธุรกิจคุณ การสร้างเว็บไซต์ของตัวเองเป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ แต่เมื่อมาถึงช่วงที่จัดหาบริษัทรับทำเว็บไซต์จริง ๆ ก็จะพบว่ามีราคาอยู่หลายระดับดังนั้นเจ้าของธุรกิจที่อาจไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้อาจต้องคิดหนักว่ามาตรฐานการสร้างเว็บไซต์ที่ดีจะวัดกันอย่างไร ในจุดนี้ Convert Digital มีผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำปรึกษา รวมถึงกำกับดูแลการสร้างเว็บไซต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สูงและตรงตาม Google Guideline มากที่สุดเพื่อประโยชน์ในการใช้งานระยะยาว

    การสร้างเว็บไซต์ครั้งหนึ่งมีหลายขั้นตอน ซึ่งล้วนใช้เงินลงทุนและเวลาพอสมควรเพื่อสร้างเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจและคำนึงถึงผู้ใช้งาน 

    ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การสร้างเว็บไซต์เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วมากโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ ในบทความนี้เราจึงนำแพลตฟอร์มสร้างเว็บยอดนิยม 2 แพลตฟอร์มคือ WordPress และ Wix มานำเสนอ รวมทั้งบอกข้อดีข้อเสียให้คุณอย่างละเอียดเพื่อพิจารณานำไปใช้งานครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะเลือกแบบไหนล้วนขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณว่าอยากให้เว็บไซต์ทำอะไรได้บ้าง มีความซับซ้อนมากขนาดไหน เช่น อยากให้เป็นแค่เว็บไซต์ให้ข้อมูลเป็นหน้าเป็นตาบริษัท หรืออยากแปลงโฉมเว็บไซต์ให้เป็น E-Commerce แพลตฟอร์ม ซื้อ-ขายเน้นในการทำกำไร ฯลฯ  

    แนะนำแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ที่นิยม

    สร้างเว็บไซต์ด้วย Wix.Com

    Wix.com เป็นแพลตฟอร์มการสร้างเว็บที่ใคร ๆ ก็ทำเองได้ มีหน้าตาสวยงามออกแนวฝรั่งเพราะกำเนิดจากฝั่งตะวันตก เป็น Website Builder ที่ไม่ต้องอาศัยความรู้การเขียนโค้ดเลย มีให้บริการทั้งแบบฟรี (มีข้อจำกัดเรื่องชื่อเว็บไซต์จะต้องติดคำว่า wix) และแบบเสียเงินซื้อ Premium Package ซึ่งจะมาพร้อมกับ hosting และ domain name ฟรีที่คุณเลือกได้ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการความซับซ้อนมากและเว็บที่เน้นความสวยงาม ให้ข้อมูล แต่ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการทำ e-commerce ในประเทศไทยด้วยความยากของการผูกระบบ payment gateway 

    ข้อดีของการสร้างเว็บไซต์ด้วย Wix

    • มีเทมเพลตเว็บไซต์ให้เลือกใช้งานมากมาย ดีไซน์สวยงาม แบ่งเป็นหมวดหมู่ธุรกิจ ใช้เป็นไอเดียเริ่มต้นได้ดี 
    • ใช้งานง่าย ไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ดก็สามารถใช้ได้ เพียงลากแล้ววางก็จัดหน้าเว็บและแก้ไขข้อมูลเองได้ดั่งใจ ลักษณะเหมือนทำ Power Point อยู่ 
    • มี Wix App Market ไว้ใช้เพิ่มฟีเจอร์บนเว็บไซต์ได้เอง เช่น เพิ่มช่อง Chat กับลูกค้าหรือเพิ่มช่องเขียน Blog การ link กับเพจโซเชียลต่าง ๆ ก็สามารถทำได้หลากหลาย
    • มี Website Hosting และ Domain Name รวมใน Package เมื่อซื้อ Premium Plan 
    • ตั้งค่าภาษาต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้เลยไม่ต้องมี plugin 
    • เว็บไซต์ Wix จะมีความปลอดภัยสูงมากและ update ตัวเองตลอดเวลา ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้อง update plug-in ใด ๆ เหมือนการใช้แพลตฟอร์มอื่น ๆ เรียกได้ว่าจบครบ สะดวกที่สุด

    ข้อเสียของการสร้างเว็บไซต์ด้วย Wix

    • มี Plug-in หรือเครื่องมือในการเชื่อมต่อกับฟังก์ชันอื่น ๆ น้อยกว่า WordPress (แต่หากเรียกว่าไม่น้อยก็ไม่ผิด เพราะครอบคลุมฟังก์ชันหลัก ๆ ทั้งหมดจนใช้ไม่หมดครับ) 
    • ไม่แนะนำเลยสำหรับเว็บไซต์ e-commerce ในประเทศไทย เพราะ Wix จะต้องเชื่อมกับ PayPal เท่านั้น (ข้อมูล ณ ปี 2022) ซึ่งบางครั้งอาจทำให้คุณต้องขายเป็นสกุลเงิน THB และถอนเงินกลับเป็น US เกิดความยุ่งยากตามมาภายหลัง นอกจากนี้ยังไม่สามารถใช้ payment gateway อื่น ๆ ได้อีกด้วยนอกจาก PayPal แต่หากคุณอยู่ที่ต่างประเทศโดยเฉพาะแถบอเมริกา ยุโรป สามารถใช้ได้และมีตัวเลือกเยอะ
    • ไม่สามารถทำการย้ายเว็บไซต์ hosting ไปที่อื่นได้ ต้องอยู่กับ Wix เนื่องจาก Wix ให้บริการในฐานะแพลตฟอร์มที่ให้เราสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาและเป็น CMS จึงจะมีค่าบริการส่วนนี้ซึ่งก็ไม่ได้แพงไปกว่าค่า Hosting ปกติของเว็บไซต์ที่เขียนจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ นับว่าเป็นข้อเสียที่ไม่ใช่ข้อเสียซะทีเดียว 
    • ระบบช่วยเหลือยังไม่มีเป็นภาษาไทย สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการคุยกับคนไทยหรือไม่ถนัดภาษาอังกฤษนัก ระบบช่วยเหลือของ Wix จะยังจำกัดอยู่ ไม่มีบริษัทและคอลเซนเตอร์ภาษาไทยรองรับ ณ ปัจจุบัน

    สร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress

    โปรแกรม WordPress เป็นโปรแกรมสร้างและบริหารเว็บไซต์สำเร็จรูปหรือ Content Management System (CMS) ไม่ต้องใช้ความรู้เรื่องโค้ดหรือเขียนโปรแกรมมากนักเมื่อสร้างเสร็จ แต่ตอนสร้างควรใช้โปรแกรมเมอร์ที่รู้เรื่องโค้ดเนื่องจากจะต้องเขียนขึ้นมาให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะสามารถ hand over ให้เจ้าของธุรกิจจัดการข้อมูลภายหลังได้ง่าย WordPress นั้นนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีความเป็นมาตรฐาน

    ข้อดีของการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress

    • มีธีมให้เลือกมากมาย ดีไซน์สวย คล้ายกับ Wix เป็นที่นิยมอันดับต้น ๆ ของโลก
    • WordPress เป็นระบบแบบเปิด มี Plug-in ให้เลือกใช้เยอะมากกว่าเนื่องจากมีผู้ใช้งานทั่วโลกจำนวนมาก
    • เหมาะกับการทำเว็บ e-commerce ในไทย เนื่องจากมี plug-in WooCommerce ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อใช้ทำเว็บไซต์สำหรับ e-commerce โดยตรง นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถรองรับสินค้าได้หลายพันหลายหมื่นชิ้นได้อย่างสบายหากสร้างเว็บไซต์อย่างถูกต้อง
    • มีตัวช่วยในการทำ SEO โดยใช้ plugin Yoast SEO ฯลฯ 
    • เป็นที่นิยมสำหรับลูกค้าที่ต้องการฟังก์ชันที่ Custom พิเศษแบบที่ต้องเขียนโค้ดขึ้นมา สามารถเชื่อมกับ platform อื่น ๆ ได้ง่าย

    ข้อเสียของการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress

    • ระบบมีความซับซ้อนกว่า Wix และอาจจะต้องพึ่ง developer ในการปรับปรุงแก้ไขเพราะบางจุดอาจซับซ้อน ต้องเขียนโค้ดเพื่อการปรับแต่ง ระบบต่าง ๆ ต้องอาศัยความเคยชินในการทำงานหลังบ้านมากกว่า
    • มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากต้องการใช้ plugin บางตัวที่อยู่บนระบบ 
    • ต้องอัปเดต Plug-in ต่าง ๆ อยู่เสมอด้วยตัวเอง หรือผ่าน Webmaster ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเว็บไซต์ หากไม่ update นาน ๆ จะทำให้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาจถูก hack ได้ จึงควรมีคนที่มีความรู้ดูแล
    • หากออกแบบไม่ดี จะแก้ไขยากมากและไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้เนื่องจากการแก้ไขโค้ดต้องพึ่ง developer หลาย ๆ บริษัทที่ใช้ developer ที่ไม่ได้มาตรฐานจะแก้กันไม่จบ ยืดเยื้อเป็นปี ๆ โดยไม่มีทางออก

    ถ้าให้เราสรุปสั้น ๆ เราจะแนะนำว่าหากคุณต้องการสร้างเว็บที่ไม่ใช่ e-commerce เน้นความสวยงามและฟังก์ชันมาตรฐานครบครันก็สามารถใช้ Wix ได้ แต่ถ้าต้องการเว็บไซต์ที่มีการปรับแต่งเยอะ เป็นเว็บ e-commerce หรือมีฟังก์ชันการใช้งานที่ custom มาก ๆ ให้เลือก WordPress ครับ

    About Author
    Rawin Rojanathara Avatar